Your browser does not support JavaScript!

ปทุมธานีตั้งเป้าเป็นศูนย์กลางอาหารของอาเซียน

By Editor Logisticsbid - 8 ตุลาคม 2020

Pathum Thani ASEAN Wide Food Hub

ทุกจังหวัดจะมีจุดขายที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ดังเช่น กาญจนบุรี เชียงใหม่ หรือภูเก็ต มีจุดเด่นเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ ขณะที่จังหวัดอื่นๆ เช่น หนองคาย วางตำแหน่งตัวเองเป็นเมืองการค้าชายแดน

จังหวัดปทุมธานี ที่อยู่ใกล้กับกรุงเทพฯ ตั้งเป้าหมายที่จะเป็นศูนย์กลางตลาดสดในภูมิภาค

นายพินิจ บุญเลิศ ผู้ว่าราชการจังหวัด กล่าวกับหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ว่าจังหวัดมีทรัพยากรเพียงพอที่จะเป็นช่องทางจำหน่ายอาหารส่งออกที่สำคัญ จังหวัดนี้มีทำเลที่เอื้ออำนวย อยู่ใกล้กับเมืองหลวงและสนามบินดอนเมือง และมีเครือข่ายทางหลวงที่เชื่อมต่อกับภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ

 

“ลักษณะการขนส่งดังกล่าวช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับจังหวัดในฐานะตำแหน่งที่ตั้งของศูนย์กระจายอาหาร อีกทั้งเรายังมีวิสัยทัศน์ที่จะยกระดับให้เป็นตลาด 4.0 ที่ทันสมัย” ผู้ว่าราชการจังหวัดกล่าว

จังหวัดปทุมธานีเป็นชุมชนดั้งเดิมที่มีชาวบ้านมอญหลบหนีจากสงครามในพม่ามาตั้งรกรากอยู่ตามแม่น้ำเจ้าพระยา จังหวัดนี้มีอิทธิพลทางการเกษตรอย่างมาก มีข้าว ผัก และผลไม้มากมาย มีแม่น้ำที่เชื่อมต่อกับจังหวัดทางเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือรวมถึงกรุงเทพที่ตั้งอยู่ทางทิศใต้

จากตลาดสด 20 แห่งที่ตั้งอยู่ริมคลอง มี 4 ตลาดสดที่มีชื่อเสียงระดับประเทศ เช่น ตลาดสดสี่มุมเมือง ตลาดไอยรา และตลาดไทซึ่งเป็นแหล่งกระจายอาหารแบบค้าส่งรายใหญ่

 

นายพินิจ ผู้ว่าราชการจังหวัด กล่าวว่า ตลาดสดแบบดั้งเดิมในจังหวัดปทุมธานีกำลังจะเปลี่ยนไปใช้อีคอมเมิร์ซโดยการสร้างพันธมิตรกับเครือข่ายผู้ซื้อในจังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ และพิจิตร เช่นเดียวกับความร่วมมือด้านโลจิสติกส์ ตลาดสดกำลังนำบาร์โค้ดมาใช้ติดป้ายบนผักผลไม้เพื่อติดตามการกระจายสินค้านั้น

“ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตอาหารที่สำคัญสู่ตลาดโลก ดังนั้น ผู้ผลิตจำเป็นต้องให้ความสำคัญในการปรับปรุงวิธีการดำเนินงาน เพื่อให้สามารถปรับตัวเข้ากับวิวัฒนาการของเศรษฐกิจยุคดิจิทัล “

 

นอกจากนี้ จังหวัดปทุมธานียังมีนิคมอุตสาหกรรมจำนวนมาก เช่น นิคมอุตสาหกรรมนวนคร และยังมีสถาบันการศึกษาและวิจัย เช่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย อุทยานวิทยาศาสตร์แห่งชาติและสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้วยสถาบันการศึกษาและการวิจัยเหล่านี้ จังหวัดสามารถเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมเชิงนิเวศเศรษฐกิจและเมืองแห่งนวัตกรรมได้

นายอดิศร์ ภัทรประสิทธิ์ ผู้อำนวยการ บริษัท ไทย แอ็กโกร เอ็กซเชนจ์ จำกัด และผู้ประกอบการตลาดไท 

กล่าวว่าตลาดได้กำหนดเป้าหมายในการเป็นผู้นำตลาดขายส่งอาหารและผู้ส่งออกสินค้าเกษตรในอาเซียน ตลาดไท ซึ่งตั้งอยู่ในอำเภอคลองหลวง มีพื้นที่ 542 ไร่ แบ่งออกเป็น 21 ส่วนสำหรับผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในแต่ละวันมีพ่อค้าและผู้ซื้อกว่า 100,000 คนเข้าเยี่ยมชมตลาด และส่งออกสินค้าเกษตรมูลค่าประมาณ 600 ล้านบาทต่อวัน เขากล่าวต่อว่า ตลาดไทกำลังยกระดับโดยการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ปลูกตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีเท่านั้น

 

ตลาดสดสี่มุมเมือง ที่เป็นตลาดค้าส่งอาหารที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง กำลังพยายามสร้างตัวเองให้เป็นตลาดสำหรับอาหารที่มีคุณภาพ และได้รับการขนานนามว่าเป็นตลาดสดที่ถูกสุขอนามัยโดยกระทรวงสาธารณสุขมาอย่างต่อเนื่องแปดปีแล้ว

นายจรูญ ชำนาญไพร ผู้ช่วยผู้จัดการของตลาดสดสี่มุมเมือง กล่าวว่าตลาดได้สร้างมาตรฐาน “Q smm” ซึ่งเป็นการวัดคุณภาพผลิตภัณฑ์ตามขนาดและเกรดซึ่งอ้างอิงตามมาตรฐานผลิตผลระดับโลก

 

ลิงก์อ้างอิ้ง: www.bangkokpost.com/thailand/special-reports/1816434/pathum-thani-sets-target-to-be-asean-wide-food-hub