หน่วยงานนี้ยังได้คาดการณ์ว่าในฤดูกาล 2019-2020 การบริโภคจะเพิ่มขึ้นเป็น 4.9 ล้านถุงด้วยเครือข่ายร้านกาแฟที่เปิดสาขาใหม่ในเกือบทุกศูนย์การค้า ศูนย์กลางการขนส่ง และสำนักงานต่างๆ แต่แล้วการระบาดของโรคก็ทำให้เจ้าของร้านกาแฟต้องคิดทบทวนกลยุทธ์ของพวกเขาใหม่
Yoshua Tanu ซีอีโอของ Jago Coffee ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มดิจิทัลสำหรับแบรนด์กาแฟติดล้อบอกกับ kompas.com ว่าการระบาดของโควิด 19 ส่งผลกระทบต่อธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงระหว่างการกำหนดมาตรการคุมเข้มทางสังคมขนาดใหญ่ (PSBB) ในจาการ์ตา แต่อย่างไรก็ตาม แพลตฟอร์มดังกล่าวมีรายได้ต่อเดือนเพิ่มขึ้น 30 เปอร์เซ็นต์ด้วยบริการจัดส่งถึงที่
Yoshua อธิบายว่า Jago Coffee ให้บริการจัดส่งฟรีโดยไม่กำหนดจำนวนการสั่งซื้อขั้นต่ำ โดยเขาให้เหตุผลว่าค่าธรรมเนียมการจัดส่งที่สูงหรือการกำหนดจำนวนการสั่งซื้อขั้นต่ำจะทำให้ผู้บริโภคต้องคิดทบทวนก่อนซื้อผลิตภัณฑ์และเสริมว่ากลยุทธ์นี้ทำให้ลูกค้ามีความภักดีต่อบริษัทมากขึ้นด้วย
บริการจัดส่งแบบออนดีมานด์ช่วยให้ร้านกาแฟคงอยู่ได้ในภาวะโรคระบาด ตามการกำหนดมาตรการคุมเข้มทางสังคมขนาดใหญ่ ร้านกาแฟหลายแห่งเริ่มนำเสนอขายกาแฟแบบเป็นลิตรผ่านบริการส่งอาหารออนไลน์ เช่น Go-Food และ GrabFood
Erwin ผู้ที่มีความชื่นชอบกาแฟบอกกับ kompas.com ในเดือนมิถุนายนว่า ในช่วงก่อนการระบาดของไวรัสโคโรนาเขามักจะไปที่ร้านกาแฟ แต่อย่างไรก็ตามตอนนี้เขาชอบซื้อกาแฟเป็นลิตรโดยใช้บริการจัดส่งมากกว่า เพราะเขาสามารถบริโภคกาแฟได้หลายถ้วยในขวดเดียว
นอกจากบริการจัดส่งอาหารออนไลน์แล้วยังมีกาแฟปริมาณ 1 ลิตรให้เลือกซื้อผ่านแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซเช่น Tokopedia โดย Tokopedia ได้เปิดตัวแคมเปญ #SatuDalamKopi (united in coffee) เพื่อส่งเสริมการขายกาแฟในท้องถิ่น เช่น กาแฟ 1 ลิตร กาแฟบด และเมล็ดกาแฟ ผ่านหน้าเว็บไซต์
Dua Coffee เป็นหนึ่งในร้านกาแฟท้องถิ่นที่เริ่มจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ่าน Tokopedia ตั้งแต่เริ่มมีการแพร่ระบาด Omar Karim Prawiranegara ผู้ร่วมก่อตั้งร้านคาเฟ่กล่าวว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของยอดขายร้านกาแฟตอนนี้มาจากการสั่งซื้อทางออนไลน์ “การย้ายธุรกิจมาขายออนไลน์เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้และตอนนี้การขายออนไลน์ถือเป็นหัวใจสำคัญของธุรกิจของเรา” เขากล่าว
ลิงก์อ้างอิง: www.thejakartapost.com/life/2020/10/07/on-demand-delivery-keeps-indonesias-coffee-business-brewing-during-pandemic.html