ความต้องการของผู้บริโภคที่มีต่อบริการขนส่งที่มีความสะดวก รวดเร็ว และราคาไม่แพง เพิ่มมากขึ้นทุกวัน
บริการเสริมอย่างการแจ้งเตือนการจัดส่ง และการติดตามพัสดุ ไม่ได้มีความสำคัญแค่ในการส่งของด่วนหรือการส่งของสำคัญอีกต่อไป แต่เป็นความต้องการพื้นฐานที่ต้องมีอยู่ ทั้งในมุมมองของผู้บริโภคและธุรกิจ ในการเผชิญการแข่งขันระดับโลก ผู้จัดการโลจิสติกส์จะต้องเผชิญกับความท้าทายทั้งในส่วนของการลดต้นทุนการจัดส่ง และการพัฒนาการบริการลูกค้า การเพิ่มขึ้นของบทลงโทษในกรณีที่เกิดความล่าช้าในการจัดส่งที่ใช้โดย Walmart ในสหรัฐอเมริกา คือการเพิ่มแรงกดดันต่อผู้ให้บริการรายย่อยในการดำเนินงาน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพที่ดีมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม การใช้ประโยชน์จากบริการขนส่งไมล์สุดท้าย ในยามที่ซัพพลายเชนและการขนส่งมีลักษณะไร้พรมแดนและมีความซับซ้อนสูงขึ้น อาจไม่ใช่สิ่งที่เกินเอื้อมเกินไปนัก ในเกือบทุกอุตสาหกรรมและทุกมุมของสังคมมีการเคลื่อนไหวมากขึ้น ไม่เว้นแม้แต่ซัพพลายเชน ดังนั้น แพลต์ฟอร์มบนมือถือจึงมีศักยภาพในการเพิ่มประสิทธิภาพของผู้ใช้ และประสบการณ์ของลูกค้า ทั้งยังช่วยปรับปรุงกระบวนการทำงานรายวันให้เกิดการคล่องตัว และช่วยจัดการความต้องการการขนส่งที่เพิ่มขึ้นแบบชั่วคราวในหลายภาคธุรกิจ เพื่อให้ทันกับธุรกิจที่มีการเปลี่ยนแปลง ผู้จัดการซัพพลายเชนควรพิจารณาทางเลือกการใช้โซลูชั่นบนมือถือสำหรับผู้ให้บริการขนส่งและผู้ขับที่มีความยืดหยุ่น ง่ายต่อการนำมาปรับใช้ และจัดการกับประสบการณ์การส่งของพร้อมการติดตามเรียลไทม์สำหรับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
แม้ในชนบทหรือพื้นที่ห่างไกลที่เราจะรู้กันดีว่าการขนส่งมักจะมีปัญหา แพลตฟอร์มที่มีอยู่บนมือถือสามารถปรับการดำเนินงานในระดับรายบุคคลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในซัพพลายเชน ป้องกันคอขวดและความล่าช้าที่อาจเกิดขึ้นได้ ด้วยความครอบคลุมของเครือข่ายที่มากขึ้น และการเปิดตัวของเครือข่าย 5G ที่เพิ่มขึ้นก็จะช่วยให้ส่วนกลางสามารถเห็นการดำเนินงานส่วนต่างๆในซัพพลายเชนได้ดียิ่งขึ้นง การทำความเข้าใจในเงื่อนไขหรือข้อจำกัด เช่น ความล่าช้าจากการจราจร จะสามารถช่วยให้ระบบปรับการทำงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์มากยิ่งขึ้นได้ การเปลี่ยงแปลงเพียงเล็กน้อยเหล่านี้จะก่อให้เกิดผลทางบวกอย่างมากต่อประสิทธิภาพโดยรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อการเห็นการทำงานในส่วนต่างๆ มากขึ้นนำมาสู่การนำโซลูชั่นมาปรับใช้ในทั้งระบบซัพพลายเชน และช่วยให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน
ในขณะเดียวกัน มีความคาดหวังว่าการขนส่งในชนบทจะสามารถทำได้ง่ายขึ้น โดยการใช้โดรนเป็นส่วนหนึ่งในการขนส่ง รถตู้หรือรถกระบะขนส่งจะทำหน้าที่บรรทุกและเคลื่อนย้ายโดรนในระยะทางไกล ส่วนการส่งสินค้าในไมล์สุดท้ายจะเกิดขึ้นผ่านระบบอัตโนมัติ ในสมัยก่อน พื้นที่ชนบทหรือชานเมืองมักได้รับบริการเช่น การขนส่งแบบภายในวัน หรืออินเตอร์เน็ตความเร็วสูง ช้ากว่า แต่ในทางตรงกันข้าม การใช้โดรนในชานเมืองจะเป็นไปได้มากกว่าในเมือง เพราะการหลีกเลี่ยงสิ่งกีดขวางจะเป็นความท้าทายที่น้อยกว่าในเมืองที่มีสิ่งก่อสร้างแน่นขนัด Amazon UPS และ DHL มีแนวคิดการจัดส่งแบบโดรน ภายใน 30 นาทีนับตั้งแต่การยืนยันคำสั่งซื้อไปจนถึงการจัดส่ง นอกจากนี้ การเชื่อมต่อข้อมูลจะช่วยพัฒนาการมองเห็นและติดตามสินค้า การติดตามสินค้าและการรวมการจัดส่งจะสามารถทำได้แบบเรียลไทม์ ซึ่งหมายความว่าลูกค้าและผู้ส่งสินค้าสามารถติดตามข้อมูลสินค้าของพวกเขาได้ตลอดเวลา
ถึงแม้จะมีกระแสมากมายเกี่ยวกับโดรน การนำเทคโนโลยีโดรนมาใช้อาจก่อให้เกิดฝันร้ายของซัพพลายเชนหากบริษัทโลจิสติกส์ไม่ระวังให้มากพอ หลายๆ องค์กรยังใช้การดำเนินงานแบบเดิม ซึ่งการนำเทคโนโลยีโดรนมาใช้ในองค์กรเหล่านี้อาจนำมาสู่กระบวนการเรียนรู้องค์ความรู้ใหม่ที่สูงมาก ทำอย่างไรที่จะเปลี่ยนการทำงานผ่านอีเมลและกระดาษมาเป็นโดรน วิธีการอย่างง่าย คือ องค์กรต้องมั่นใจว่า พวกเขาใช้ระบบจัดการการขนส่งหรือ TMS ที่สามารถจัดการการขนส่งแบบอัตโนมัติได้ (อย่างเช่น การตั้งค่าน้ำหนักสูงสุดของพัสดุ หรือการใช้โดรนส่งของได้อย่างปลอดภัยในจุดส่งที่ส่งยาก) แทนการใส่รายละเอียดในแต่ละรายการแบบแยกกัน การเชื่อมต่อระบบต่างๆ เข้าด้วยกันมากขึ้นก็จะช่วยให้ธุรกิจจัดการกับปริมาณข้อมูลที่เพิ่มขึ้นได้ดีมากขึ้น
ในความเป็นจริง ฐานข้อมูลขนาดใหญ่หรือ Big Data คือ ความสามารถในการประมวลผลข้อมูลที่หลากหลายและมีปริมาณมหาศาลเพื่อพัฒนาบริการของบริษัท และนี่เป็นความท้าทายสำหรับหลายบริษัทและผู้ให้บริการ แต่ขณะเดียวกันเราก็เห็นการเกิดของแพลตฟอร์มใหม่ที่มีราคาไม่แพงเพื่อช่วยลดความกดดันที่เกิดขึ้นในช่วงการเปลี่ยนผ่าน
ตัวอย่างเช่น Internet of Things (IoT) มีบทบาทสำคัญในการช่วยด้านการเข้าถึงข้อมูลและแปลงผลข้อมูลในแวดวงโลจิสติกส์ IoT ช่วยให้บริษัทเข้าถึงข้อมูลเชิงขอบที่เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจ ข้อมูลเชิงขอบในที่นี้หมายถึง ฟังก์ชั่นที่อยู่ไกลจากการวางแผนงานหลัก เช่น การติดตามอุณหภูมิบนยานพาหนะ หรือการติดตามตำแหน่งบนตู้คอนเทนเนอร์ หน่วยข้อมูลย่อยๆ ในห่วงโซ่การขนส่งนี้สามารถจัดเก็บและส่งข้อมูลไปยังโซลูชั่นในเครือข่ายเพื่อติดตามและช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจ
เทคโนโลยีต่างๆ ที่จะช่วยเปลี่ยนแปลงซัพพลายเชนมาสู่การใช้ข้อมูลขับเคลื่อนการจัดการซัพพลายเชนได้เกิดขึ้นแล้ว และตอนนี้ก็เป็นเรื่องของธุรกิจที่จะประเมินความเป็นไปได้ในการนำเทคโนโลยีมาใช้ทั้งในแง่ของการดำเนินงาน และการจัดการในภาคธุรกิจย่อยที่บริษัทให้บริการอยู่ โดรนอาจจะไม่ได้เข้ามาควบคุมซัพพลายเชนทั้งหมด หรือไม่ได้มาช่วยรองรับออเดอร์สินค้าส่วนใหญ่ แต่จะช่วยในการแก้ปัญหาความท้าทายในการส่งสินค้าในพื้นที่ห่างไกล เพิ่มความสามารถในการติดตาม และในระยะยาวอาจปฏิวัติซัพพลายเชนก็เป็นได้ สิ่งที่ต้องทำคือเตรียมความพร้อมรับมือกับหุ่นยนต์ที่ทรงพลัง
ลิงก์อ้างอิง: www.supplychaindigital.com/supply-chain-management/getting-smart-last-mile