Your browser does not support JavaScript!

อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ จะเป็นอย่างไรต่อไป

Next for Logistics

อุตสาหกรรมโลจิสติกส์กำลังอยู่ในช่วงการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ

การเปลี่ยนแปลงของระบบดิจิทัลเป็นเครื่องมือสำคัญ และเป็นสิ่งที่ทำให้บริษัทโลจิสติกส์นำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ในการดำเนินงาน เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI) หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ IoT และ Big Data รวมถึงการดำเนินงานอื่นๆ โดยเทคโนโลยีเหล่านี้จะช่วยให้บริษัทสามารถพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการต่างๆ ได้อย่างมาก

ภายในปี 2030 ตลาดโลจิสติกส์จะมีมูลค่าประมาณ 75 พันล้านเหรียญสหรัฐ จากศึกษาล่าสุดของ LogisticsIQ ในหัวข้อ “Next-Gen Supply Chain Market – Global Forecast to 2030” โดยตลาดโลจิสติกส์เพิ่มมูลค่าจาก 32 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2019 

ระบบซัพพลายเชนในปัจจุบันต้องการความโปร่งใสของข้อมูล ความรวดเร็วในการปรับใช้ระบบ IoT เพื่อเพิ่มการลงทุนในนวัตกรรมซัพพลายเชนและตอบสนองความต้องการที่มีปริมาณเพิ่มมากขึ้นจากอีคอมเมิร์ซ 

ความต้องการที่มากขึ้นจากอีคอมเมิร์ซทำให้เกิดการนำหุ่นยนต์มาใช้ในคลังสินค้าและจุดแยกสินค้า นอกจากการนำมาใช้ในระบบคลังสินค้าแล้ว หุ่นยนต์ยังได้เข้ามามีส่วนช่วยในการขนส่งขาสุดท้าย (last-mile delivery) ตั้งแต่การรับสินค้าจนถึงการจัดส่งให้ลูกค้า ส่งผลให้มีการจัดการการสั่งซื้อได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ ตอบสนองต่อปริมาณการสั่งที่มากขึ้น ลดความเสียหายและเพิ่มประสิทธิภาพของแรงงาน

ผู้ค้าปลีกรายใหญ่ เช่น Amazon JD และ Walmart ใช้หุ่นยนต์เพื่อบรรจุและเรียงลำดับรายการด้วยระบบอัตโนมัติในคลังสินค้า ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพได้เป็นอย่างมาก

ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ช่วยในการจัดการปัญหาที่สำคัญหลายประการในระบบซัพพลายเชน เช่น การวิเคราะห์ข้อมูลที่ซับซ้อนเพื่อคาดการณ์อุปสงค์ในอนาคต การนำไปใช้ในการวางแผนห่วงโซ่อุปทานและการปรับเปลี่ยนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน รวมถึงการพยากรณ์ความต้องการ การจัดการสินค้าคงคลัง การจัดการคลังสินค้า และการจัดการระบบขนส่ง

ลิงก์อ้างอิง: www.supplychaindigital.com/supply-chain-management/whats-next-logistics-industry

เมชิตา ลาภสุวรรณ

อัพเดทล่าสุด 15 พฤษภาคม 2020

เมชิตาเป็นบรรณาธิการของ Logisticsbid ประเทศไทยมาตั้งแต่ริเริ่ม โดยเธอสำเร็จการศึกษาด้านการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน และเป็นคนสำคัญในการคิดและนำเสนอเนื้อหาด้านโลจิสติกส์ที่เป็นประโยชน์